วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

แผนควบคุมการเจริญเติบโตของ HOVAN

แผนควบคุมการเจริญเติบโตของ HOVAN

แผนควบคุมการเจริญเติบโตของ HOVAN
THE HOVAN SLOW - GROW PLAN : 1997
วัตถุประสงค์ของแผนนี้เพื่อให้อัตราการเจริญเติบโตของลูกสุนัขระหว่างแรกเกิดจนถึง 4 เดือนเป็นไปอย่างช้าๆซึ่งจะทำให้ลูกสุนัขมีช่วงตัวสั้นกว่าที่เลี้ยงแบบโตเร็ว สำหรับสุนัขอายุเท่าๆกันไม่เป็นการทำให้สุนัขแคระแกรนอย่างถาวรและสุนัขสามารถเจริญเติบโตตามขีดความสามารถทางพันธุกรรมแต่จะเป็นการเจริญเติบโตที่เป็นไปอย่างช้าๆ ในช่วงเวลาที่นานกว่าสุนัขที่เร่งการโตตั้งแต่เล็กๆทำให้กราฟแสดงการเจริญเติบโตของลูกสุนัขเป็นแบบค่อยๆลาดเอียงขึ้นไม่ตั้งชันแบบเร่งการเติบโต
จุดมุ่งหมายของการให้โตอย่างช้าๆเพื่อให้การพัฒนาของกระดูกและข้อต่อเป็นแบบแข็งแรงที่สุด การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วสร้างความเครียดให้แก่ร่างกายของลูกสุนัขอันจะมีผลทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมาเช่น โรคข้อสะโพกห่าง (HIP DYSPLASIA) และกระดูกทุกส่วนอักเสบ (PANOSTEITIS) และลูกสุนัขที่โตเร็วเกินไป มักมีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและเอ็นในระหว่างการเล่นและออกกำลัง 
อัตราการเจริญเติบโตของสุนัขขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของอาหารที่ให้กินด้วยผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับอาหารของบริษัทที่ี่พยายามพัฒนาอาหารสูตรใหม่ให้ดีกว่า แพงกว่าเดิม แต่ในความเป็นจริงอาจจะเป็นอันตรายต่อลูกสุนัขผิดจากธรรมชาติมาก(ลูกสุนัขจิ้งจอกและสุนัขป่าไม่ได้นั่งกินนอนกินจนตัวกลมอ้วนแบบสุนัขที่เราเลี้ยง) และรวมไปถึงการวิเคราะห์ผลที่ผิดพลาดบ่อยคือเห็นลูกสุนัขที่ดูสมตัว (SKINNY PUP) เข้าใจผิดว่าเป็นสุนัขที่ผอมกะหร่องและสุขภาพไม่ดี    
ลูกสุนัขที่มีเป้าหมายเพื่อประกวดมีความเสี่ยงมากที่จะได้รับอาหารมากเกินไปเพราะเจ้าของต้องการเร่งให้ตัวโตกระดูกใหญ่ ขนสวยและโตเต็มวัย(MATURE) เร็วๆ ซึ่งมักจะได้ผลตามที่คาดหวังไว้ในช่วงต้นๆของการเติบโตแต่เมื่อสุนัขโตเต็มที่ (โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ที่ดีจะโตเต็มที่ช่วงอายุ 2- 3 ปี ไม่ใช่ 1 ปี จาก a Study of Golden Retriever) จะไม่แตกต่างกันเลยระหว่างสุนัขที่เลี้ยงแบบเร่งการโตกับสุนัขที่เลี้ยงแบบโตช้าแต่ที่จะดูแตกต่างกันตลอดไปคือ ความเสียหายแบบถาวรของกระดูกและข้อต่อของสุนัขที่เลี้ยงแบบการเร่งการโต เพื่อจะควบคุมให้สุนัขมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างช้าๆเป็นไปตามปกติิตามธรรมชาติและระดับที่ดีต่อสุขภาพ   สุนัขจะต้องถูกทำให้ผอมบาง(Thin) จนถึงผอมมาก (Very Thin) (โปรดระวัง! เพื่อนๆของคุณ เพื่อนบ้านหรือแม้แต่สัตวแพทย์ของคุณจะต้องทักว่าลูกสุนัขของคุณอดอยาก (Starving) ปัญหาก็คือจะมีการเพิ่มอาหารให้สุนัขมากขึ้น อันดับแรกคือ อาหารจุเกินไปทำให้สุนัขโตเร็วขึ้นไม่ใช่ทำให้อ้วนอย่างเดียว (ขยายความ : อาหาร   จะทำให้โครงสร้างของลูกสุนัขโตกว่าปกติก่อนแล้วจึงทำให้อ้วน )
จากเหตุผลนี้ผู้เขียนจึงไม่สามารถกำหนดการควบคุมน้ำหนักโดยแนะนำเพียงให้ลูกสุนัขดูกะทัดรัดแต่ความหมายของคำว่าผอมบาง (Thin) ในสายตาแต่ละคนไม่เหมือนกันและจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเจ้าของสุนัขส่วนใหญ่ยังเลี้ยงลูกสุนัขไม่ผอมพอที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการควบคุมน้ำหนักเฉพาะของแต่ละช่วง ซึ่งได้ใช้ในการพัฒนาสุนัขของผุ้เขียนมาหลายรุ่นแล้ว(สุนัขเหล่านี้เติบโตเป็นสุนัขโตที่มีสุขภาพดี สวยงาม ปราศจากโรคของกระดูกและข้อต่อ)
อย่างไรก็ตามคำแนะนำนี้ไม่สามารถขจัดโรคเกี่ยวกับการเจริญเติบโตได้ทั้งหมดแต่จะทำให้ลูกสุนัขกลายเป็นสุนัขที่มีสุขภาพดีที่สุดเมื่อโตขึ้นภายใต้ของอิทธิพลของพันธุกรรมที่มีอยู่

ตารางการควบคุมน้ำหนัก (Target Weights)
อายุ
น้ำหนัก
แรกเกิด
1    สัปดาห์
2    สัปดาห์
3    สัปดาห์
4    สัปดาห์
5    สัปดาห์
6    สัปดาห์
7    สัปดาห์
8    สัปดาห์
10   สัปดาห์
12  สัปดาห์
16  สัปดาห์
20  สัปดาห์ 
     1 ปอนด์  (0.45 kg)
     2 ปอนด์   (0.9 kg)
     3 ปอนด์ (1.36 kg)
     4 ปอนด์ (1.81 kg)
     5 ปอนด์ (2.27 kg)
     6 ปอนด์ (2.72 kg)
     7 ปอนด์ (3.18 kg)
     8 ปอนด์ (3.63 kg)
     9 ปอนด์ (4.09 kg)
     12 ปอนด์ (5.45 kg)
  15 - 16 ปอนด์ (6.81-7.27 kg)
  22-23 ปอนด์ (10-10.45 kg)
  28-30 ปอนด์ (12.72-13.63 kg)

หลัง 20 สัปดาห์จะเพิ่มอาหารขึ้นบ้างให้หุ่นดูดีขึ้นแต่ห้ามอ้วน เวลาวิ่งท้องต้องไม่หมุนถ้าท้องหมุนต้องลดอาหารลงอีก ถ้าเทียบในรุ่นอายุ 6-9 เดือนจะดูขนาดเล็กกว่า (Undersize) แต่จะเจริญเติบโตไปจนเต็มศักยภาพทางพันธุกรรมในที่สุด


ตารางการออกกำลังกาย (Exercise Reccommendations)
อายุ
ระยะทาง/ไมล์
8    สัปดาห์
10  สัปดาห์
12  สัปดาห์
14  สัปดาห์
16  สัปดาห์
 18   สัปดาห์ 
อาทิตย์ละ 4-5 ครั้ง
0.5
1
1.5
2
2.5
3

การออกกำลังเป็นกุญแจสำคัญของแผนนี้ ลูกสุนัขที่ Active สามารถกินอาหารได้มากและได้รับสารอาหารมากขึ้นภายใต้การควบคุมอาหาร ลูกสุนัขจะมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและช่วยพยุงโครงกระดูก การประสานงานของกล้ามเนื้อก็จะดี ช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายด้วย ผู้เขียนชอบให้สุนัขวิ่งและเดินออกกำลังกายในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหม การได้วิ่งและเดินเล่นอย่างอิสระวันละ 3 ไมล์ทำให้ได้กล้ามเนื้อที่สวยงาม ต้องระวังถ้าให้สุนัขออกกำลังในเวลาที่อากาศร้อนเกินไป ห้ามจูงวิ่ง, วิ่งจักรยาน, มอเตอร์ไซต์ ในสุนัขที่อายุต่ำกว่า 18 เดือน

ที่มา:http://www.mylovegolden.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents&id=65232&Ntype=0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น